การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

กลไกของการล้มและกระดูกหัก

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม

# สำหรับผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล

  1. อย่าลุกเข้าห้องน้ำตามลำพัง
  2. กดปุ่มสัญญาณเรียกพยาบาลทุกครั้งเมื่อต้องการความช่วยเหลือ

# สำหรับญาติ/ผู้ดูแลขณะอยู่ในโรงพยาบาล

  1. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหรือผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย ควรมีญาติอยู่ด้วยตลอดเวลา
  2. อย่าทิ้งผู้ป่วยให้อยู่ตามลำพัง ถ้าจำเป็นกรุณาแจ้งพยาบาล
  3. ควรยกไม้กั้นเตียงขึ้นตลอดเวลา ขณะผู้ป่วยอยู่บนเตียง
  4. จัดของใช้ที่จำเป็นให้ผู้ป่วยหยิบได้สะดวก
  5. ขณะผู้ป่วยอยู่ในห้องน้ำ ห้ามล็อคประตู

คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม

# การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

  1. ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอ เน้นโปรตีน ผักและผลไม้ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและต้านทานโรค ไม่ควรงดอาหาร เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มึนงง
  2. ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ โดยดื่มนมวันละ 2 แก้ว (400 มล.) โยเกิร์ต ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ผักใบเขียว งา ปลาตัวเล็กที่รับประทานทั้งกระดูก และถูกแสงแดดอ่อนๆ อย่างน้อย 20-30 นาที/วัน
  3. มีการเคลื่อนไหวทุกวัน เดิน/ออกกำลังกายตามวัย เช่น รำมวยจีน หรือไทเก็ก เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของข้อและสมดุลของร่างกาย
  4. ตรวจสายตาและการได้ยินเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าพบปัญหาควรปรึกษาแพทย์
  5. 5. สอบถามแพทย์/เภสัชทุกครั้งเรื่องผลข้างเคียงของยา ถ้ารับยาที่มีผลทำให้ง่วงซึม หลับ ต้องปรับเปลี่ยนการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการลื่นหกล้ม
  6. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุของการลื่นล้ม
  7. ไม่อายที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า, Walker เพราะจะทำให้เราปลอดภัย และควรตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยเดินให้มีความสูงเหมาะสม มั่นคง ปลายมียางหุ้มเพื่อกันลื่น

# การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้าน

  1. ควรมีวัสดุกันลื่นในห้องน้ำ ไม่วางของระเกะระกะ
  2. ควรมีแสงสว่างเพียงพอ โดยเฉพาะตรงราวบันได ติดตั้งหลอดไฟบริเวณมุมมืดที่เดินผ่านบ่อยๆ
  3. เตียงนอน เก้าอี้ และ โถส้วมมีความสูงพอเหมาะ ไม่เตี้ยเกินไป
  4. ทางเดินและบันไดควรมีราวจับตลอด และขั้นบันไดควรมีความสูงเท่าๆ กัน ไม่สูงหรือต่ำเกินไป
  5. พื้นห้องควรสม่ำเสมอ และเป็นวัสดุที่ไม่ลื่นโดยเฉพาะในห้องน้ำ
  6. บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกัน หลีกเลี่ยงธรณีประตู

# เมื่อประสบกับการลื่นล้ม

        ผู้สูงอายุควรพยายามเอาส่วนที่หนาหรือมีอุปกรณ์นุ่มรองลงสู่พื้น หลังลื่นล้มไม่ควรรีบลุกขึ้น ควรสำรวจการบาดเจ็บก่อนว่ามีส่วนไหนที่ได้รับบาดเจ็บบ้าง ถ้าไม่มั่นใจควรโทรตามญาติเพื่อนำส่งโรงพยาบาล

บทความโดย นพ.ธนวัฒน์ อำพันทรัพย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกพรุน และโรคกระดูกในผู้สูงอายุ รพ.ตำรวจ

 

Scroll to Top