การประเมินความเสี่ยงทางคลินิก
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
(Non-modifiable risk factors) | ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้
(Modifiable risk factor) |
1. อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
2. เพศหญิง 3. ผู้หญิงผิวขาวและผู้หญิงเอเชีย 4. หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี รวมถึงผู้ที่ถูกตัดรังไข่ 2 ข้าง 5. โครงสร้างของร่างกายเล็ก (small body build) 6. บิดา มารดา พี่หรือน้องเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักง่าย 7. เคยกระดูกหักจากภาวะกระดูกเปราะบาง (fragility fracture) | 1. บริโภคแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ
2. ไม่ค่อยได้ใช้แรงกาย (sedentary lifestyle) 3. สูบบุหรี่เป็นประจำ 4. ดื่มสุราเป็นประจำ 5. ดื่มกาแฟหรือน้ำอัดลมเป็นประจำ 6. ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 7. มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่า 1 ปีขึ้นไป 8. มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น การมองเห็นไม่ชัดเจน กินยานอนหลับ ยาลดความดัน เป็นต้น |




สาเหตุของโรคกระดูกพรุน แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ
- โรคกระดูกพรุนชนิดปฐมภูมิ (Primary osteoporosis) สาเหตุเกิดจากตัวกระดูกเอง ได้แก่
1.1 โรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน (Postmenopausal osteoporosis) เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เกิดการสลายของมวลกระดูกเพิ่มขึ้น พบในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน หรือ อายุระหว่าง 50-65 ปี มักพบกระดูกหักบริเวณกระดูกแขนส่วนปลายและกระดูกสันหลังทรุด
1.2 โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ (Age-associated or senile osteoporosis) พบทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ทำให้การสร้างมวลกระดูกลดลง เกิดจากปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ มักพบกระดูกหักได้บ่อยบริเวณกระดูกข้อสะโพก
- โรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ (Secondary osteoporosis) สาเหตุเกิดจากระบบอื่นๆ ส่งผลกระทบมาที่กระดูก ได้แก่
2.1 ระบบต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคต่อมหมวกไตทำงานน้อยผิดปกติ ภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
2.2 ขาดแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูก เช่น ขาดแคลเซียม วิตามินดี แมกนีเซียม หรือวิตามินเค เป็นต้น
2.3. ต่อมเพศทำงานน้อยผิดปกติ (Hypogonadal states) มักพบในเพศชายที่ขาดฮอร์โมน testosterone
2.4. สาเหตุอื่น ๆ เช่น การดื่มสุรา การใช้ยาบางชนิดที่เร่งการทำลายกระดูก เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาละลายลิ่มเลือดบางชนิด การขาดการออกกำลังกาย หรือการขยับเคลื่อนไหวร่างกายน้อย เช่น ผู้ป่วยพิการที่นอนติดเตียงตลอดเวลา เป็นต้น


บทความโดย นพ.ธนวัฒน์ อำพันทรัพย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกพรุน และโรคกระดูกในผู้สูงอายุ รพ.ตำรวจ